การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาติดบุหรี่

ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์ (CO) เป็นก๊าซที่มีความเข้มข้นมากในควันบุหรี่ CO มี ความสามารถที่จะรวมตัวกันทาง เคมีกับเซลล์ของเม็ดเลือดแดงมากกว่าออกซิเจนถึง 100 เท่าเรียกว่า carboxyhemoglobin ซึ่งจะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงทำให้ ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 -15 ทำให้อาการปวดหัว คลื่นไส้ กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง

1/3/2023

ผลของการสูบบุหรี่ในระยะตั้งครรภ์ต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด

1.ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว (vasoconstriction) ทั้งของมารดาและทารก ร่วมกับการมีระดับคาร์บอนไดออกไซต์ในเลือดมากขึ้น ทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดเลือดมาเลี้ยงอย่างเรื้อรัง(chronic ischemia) 2.ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างเรื้อรัง (chronic hypoxia) ตามไปด้วย ทำให้มารดาแท้งหรือทารกตายได้ 3.ทารกในครรภ์มีกลุ่มอาการติดบุหรี่ (fetal tobacco syndrome) คือ ทารกมีการเจริญเติบโตช้า น้ำหนักตัวต่ำกว่าปกติ 150 – 300 กรัม เกิดก่อนกำหนด และเกิดภาวะหายใจลำบาก (respiratory distress) ทารกมีปากแหว่ง เพดานโหว่ ไส้เลื่อน ตาเหล่ พบมากในรายที่มารดา ที่สูบบุหรี่เป็นจำนวนมากในระยะตั้งครรภ์ 4.ทารกแรกเกิดมีกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก มีอาการสั่น ถ้ามีเลือดออกเลือดจะหยุดยาก ระดับ IQ ต่ำ การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติ เมื่อทารก โตขึ้นจะมีบุคลิกที่ไม่อยู่นิ่ง

ภาวะแทรกซ้อน

1.การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผิดปกติ 2.แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกตายระหว่างคลอด 3.ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ 4.ทารกที่คลอดออกมามีภาวการณ์หายใจผิดปกติสูงกว่าธรรมดา เนื่องจากปอดของทารกแรกเกิดไม่ค่อยขยายออกตามปกติ

การพยาบาล

การพยาบาลทารกที่มารดาสูบบุหรี่ในระยะตั้งครรภ์ เป็นการพยาบาลก่อนทารกเกิดและภายหลังเกิด ซึ่งต้องประเมินภาวะสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยทางการพยาบาล

การประเมินภาวะสุขภาพ

1.ซักประวัติ มารดามักให้ประวัติว่าสูบบุหรี่ในระยะตั้งครรภ์และประวัติอาการและอาการแสดงของทารกเมื่อแรกเกิดทันที และภายหลังเกิด 2.การตรวจร่างกาย พบว่ามารดาริมฝีปากเขียวคล้ำ และเล็บสีเหลือเนื่องจากคราบนิโคตินจับ หายใจมีกลิ่นบุหรี่ ตรวจร่างกายทารกพบอาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการติดบุหรี่ 3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พยาบาลรวบรวมผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลการ ตรวจเลือดหาระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด เป็นต้น

การพยาบาลทารกหลังเกิดทันที

ทารกที่เกิดจากมารดาติดบุหรี่ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ต้องได้รับการดูแลภายหลังเกิดทันที เพื่อ ช่วยให้ทารกไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือถ้าเกิดก็ให้มีผลต่อภาวะสุขภาพของทารกน้อยที่สุด

กิจกรรมการพยาบาล

1.ประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิดว่าขาดออกซิเจนหรือไม่ ถ้าพบว่าทารกขาดออกซิเจนต้องรีบให้การช่วยเหลือดูแลระบบทางเดินหายใจ ได้สะดวกโดยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง จัดท่านอนให้นอนหงายใช้หมอนรองใต้สะบักหรือจับให้นอนตะแคงซ้าย 2.ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา 3.ในกรณีที่มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงต้องช่วยฟื้นคืนชีพ (resuscitated) 4.ลดสิ่งกระตุ้นภายนอก ให้ความอบอุ่นทารก ติดตามสัญญาณการมีชีพ