ไข้เลือดออก ภัยเงียบที่มากับฝน

17/8/2022

ในหน้าฝนปีนี้ โรคยอดฮิตโรคหนึ่งที่กลับมาไม่ต่างจากทุกปี และยังคงความอันตรายเช่นเดิม ก็คือโรคไข้เลือดออก เพราะเป็นโรคที่มีพาหะนำโรคคือ ยุงลาย ที่เป็นตัวร้ายนำพาเชื้อไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นที่รู้จักกันมายาวนานก่อนที่คนจะกลัวโรคโควิดกันอย่างทุกวันนี้ นั่นก็คือ เชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) นั่นเอง โดยหากไม่ทันระวังตัวและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคนี้ก็สามารถอันตรายถึงชีวิตได้

เนื่องจากยุงลายเพศเมียจะเป็นพาหะที่นำเชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดคนโดยการกัด เมื่อหน้าฝนมีน้ำขังมาก การขยายพันธุ์ของยุงลายเหล่านี้ก็มากตามไปด้วย โอกาสที่เราจะถูกกัดเมื่อยุงลายมีมากก็จะทำให้โรคไข้เลือดออกระบาดได้มาก โดยเชื้อไวรัสเดงกี่ จะเข้าไปอยู่ในยุงที่ไปกัดผู้ป่วยไข้เลือดออกที่กำลังป่วย (มีไข้) และจะชอบไปฟักตัวในต่อมน้ำลายของยุงลาย หลังจากนั้นเมื่อยุงลายไปกัดคนอื่นๆก็จะมีการแพร่กระจายเชื้อเข้ากระแสเลือดของผู้ถูกกัดได้

การระบาดของไข้เลือดออก

โดยส่วนใหญ่ มากกว่า 80% ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่ จะมีอาการไม่รุนแรง อาจจะมีเพียงภาวะไข้สูง ปวดหัว ปวดตามตัว มีผื่นเล็กน้อย โดยความรุนแรงอาจจะเพิ่มขึ้นได้หากได้รับการติดเชื้อซ้ำ โดยจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะของโรคไข้เลือดออก

  1. ระยะไข้ ประมาณ 2-7 วันหลังติดเชื้อ โดยมักเป็นไข้สูงลอย ลงยากแม้เช็ดตัวหรือทานยาลดไข้ อาจมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ร่วมด้วยได้
  2. ระยะวิกฤติ หลังจากไข้ลง 24-48 ชั่วโมง ระยะนี้หากผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงก็จะค่อยๆดีขึ้น แต่ในกลุ่มที่อาการรุนแรงอาจจะมีเลือดออกง่าย เช่น เลือดกำเดาออก ถ่ายดำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียมากขึ้น ถ้าถึงขั้นช๊อก จะมีความดันต่ำ ปัสสาวะออกน้อย มีเลือดออกง่ายมาก มือเท้าเย็น อาจถึงแก่ชีวิตได้ 
  3. ระยะฟื้นตัว ระยะอาการต่างๆจะดีขึ้น เริ่มอยากอาหาร ความดันและชีพจรดีขึ้น ปัสสาวะออกมาก และมีจุดแดงคันตามตัวเป็นสัญญาณสำคัญที่จะบอกว่าเข้าระยะฟื้นตัวและปลอดภัยแล้ว

กลุ่มคนที่ต้องระวังไข้เลือดออกเป็นพิเศษ

คนทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาสติดเชื้อไข้เลือดออกได้เหมือนๆกัน แต่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ มีโอกาสที่จะติดเชื้อแบบรุนแรง (เลือดออกหรือช๊อก) ได้มากกว่าวัยอื่น นอกจากนี้ กลุ่มที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์/ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ตับแข็ง ไตวาย/ผู้มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ แตกง่าย/กลุ่มที่ทานยากลุ่มสเตียรอยด์หรือยาแก้อักเสบ (NSAID)

  1. ป้องกันยุงกัด เช่น นอนมุ้ง ใส่เสื้อผ้าแขนขายาว ใช้ยากันยุงในที่ยุงชุกชุม
  2. กำจัดแหล่งลูกน้ำยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขัง ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำทุกวันในภาชนะเล็ก เช่นแจกันดอกไม้ ใส่ทรายในกรณีน้ำขังมาก และหากมีแหล่งกักน้ำจากเศษวัสดุ เช่น กระป๋อง ยางเก่า ควรนำไปกำจัดทิ้งเสีย

ทางโรงเรียนพรการุญบริบาลเป็นห่วงความปลอดภัยของทุกคน และหวังว่าทุกท่านจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไข้เลือดออก และดูแลตัวเองและคนที่รักให้ปลอดภัยได้มากที่สุด

การดูแลหากติดเชื้อไข้เลือดออก

ปัจจุบันไม่มียาต้านไวรัสเดงกี่โดยตรง แต่หากอาการรุนแรง ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงทีและถูกต้อง เช่นการได้รับสารน้ำให้พอเพียง จะช่วยทำให้อาการไม่รุนแรงถึงกับอันตรายแก่ชีวิตได้ จึงแนะนำว่า หากมีไข้สูงลอยมากกว่า 2 วัน ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อหาเชื้อวินิจฉัย โดยเฉพาะกลุ่มอันตรายที่กล่าวไปข้างต้น โดยหากช่วงหลังไข้ลงมีไข้ลงมีอาการอ่อนเพลียมากเป็นพิเศษ ตัวเย็น กินอะไรไม่ได้เลย หรือมีอาการช๊อก เช่น มือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย เลือดออกมาก ซึม ควรมาพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินโดยเร็ว

นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหาร เกลือแร่ ที่พอเพียง ทานอาหารอ่อนที่ไม่มีสีดำแดงเพื่อให้สังเกตเลือดออกได้ง่าย หากไข้สูงมากควรเช็ดตัวลดไข้บ่อยๆ และกินยาพาราเซตตามอลเมื่อจำเป็น ควรหลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAID เพราะอาจจะกัดกระเพาะทำให้เลือดออกง่ายขึ้นได้

การป้องการการติดเชื้อไข้เลือดออก

เนื่องจากปัจจุบันมีวัคซีนไข้เลือดออก เข้ามาในประเทศไทยแล้ว แต่ประโยชน์ของวัคซีนยังมีข้อจำกัด เช่น จะลดความรุนแรงได้เฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน เพราะฉะนั้น วิธีการป้องกันไข้เลือดที่ดีที่สุดยังคงเป็นการลดความเสี่ยงการติดเชื้อ นั่นคือลดโอกาสการโดนยุงลายกัดด้วยวิธีต่างๆนั่นเอง โดยในหน้าฝนแบบนี้ พรการุญมีข้อปฏิบัติที่ทำได้ง่ายๆดังนี้

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th